เรียนครั้งที่ 4
วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
วัน/เดือน/ปี 14 มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 13:10 น. เวลาเข้าสอน 13:10 น. เวลาเลิกเรียน 16:40 น.
สิ่งที่ได้รับจากการเรียน
สัปดาห์นี้จะเสนองานที่ให้ทำโดยแบ่งเป็นกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ภาษาของเด็กปฐมวัย
เด็กจะเรียนรู้โดยผ่านการเล่นตามธรรมชาติในตัวเด็ก จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก และจากสิ่งที่ได้เห็น
กลุ่มที่ 2 แนวคิดของนักทฤษฏีทางภาษาของเด็กปฐมวัย
Chomsky นักจิตวิทยาทางด้านภาษาและนักภาษาศาสตร์ ได้ศึกษาพบว่าเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการ ทางภาษาที่ค่อนข้างจะรวดเร็ว มีลักษณะที่พิเศษที่จะส่งเสริมให้เรียนรู้ภาษาได้อย่างรวดเร็ว ได้แก่การมีแรงจูงใจตนเองที่จะใช้ภาษาเพื่อสื่อสารกับบุคคลรอบข้าง จะเห็นได้ว่าเด้กจะสนใจถามอยู่ตลอดเวลาว่าสิ่งที่เขาเห็นนั่นคืออะไร
เพียเจท์ ได้เสนอแนวคิดไว้ว่า เด็กๆเกิดการเรียนรู้ได้โดยการมีส่วนร่วมและการลงมือปฏิบัติในกิจกรรมต่างๆ ได้เคลื่อนไหวตนเองในกิจกรรม ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม ได้คิดด้วยตนเอง และเกิดการเรียนรู้ผ่านการเล่น และการพัฒนาภาาาจากกิจกรรมต่างๆ
ไวกอตสกี้ กล่าวว่า เด้กเกิดการเรียนรู้ภาษาตนเองจาการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก เกิดการเรียนรู้ผ่านการเล่น และเข้าร่วมกิจกรรม การช่วยเหลือและลงมือปฏิบัติอย่างเป็นขั้นเป็นตอนจากการใช้สัญลักษณ์ต่างๆได้ เกี่ยวกับการเล่นและกิจกรรมต่างๆ
จอร์น ดิวอี้ กล่าวว่า การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดจากการมีประสบการณ์ตรงลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง เรียกว่า ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
ฮอลลิเดย์ กล่าวว่า จากการที่เด็กได้มีประสบการณ์ตรงลงมือปฏิบัติจริง มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ได้ใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับการร่วมกิจกรรมทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาภาาา ทำให้อ่านออกเขียนได้ผ่านกระบวนการคิดและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
กลุ่มที่ 3พัฒนาการทางสติปัญญาเด็กแรกเกิด-2ปี
ทารกแรกเกิด : ลูกจะใจจดใจจ่อ อยู่กับใบหน้าของคุณ
อายุ 4 สัปดาห์ : ทารกจะเฝ้ามองคุณและพยายามเลียนแบบ
อายุ 6 สัปดาห์ : ทารกจะยิ้มไล่หลังคุณไป
อายุ 3 เดือน : จะชอบมองของเล่นที่แขวนให้ดู
อายุ 4 เดือน : จะแสดงอารมณ์และความรู้สึก
อายุ 5 เดือน : เริ่มเข้าใจสิ่งปกติ
อายุ 6 เดือน : จะเริ่มสนใจในกระจกเงา และเริ่มชอบอาหาร
อายุ 8 เดือน : จะรู้จักชื่อของตนเอง และรู้จักคำว่า ไม่
อายุ 9 เดือน : จะเริ่มแสดงความสนใจ
อายุ 15 เดือน : จะรู้จักความหมายของการหอมแก้ม
2 ปี : เด้กจะชอบอยู่ตามลำพัง กับของเล่น
กลุ่ม 4 พัฒนาทางสติปัญญา 2-4 ปี
เพียเจท์ กล่าวไว้ว่า พัฒนาการของเด็กเป็นไปตามขั้นตอน อย่าไปเร่งรัดเด้ก เพราะจะเป็นการปิดกั้นเดก เด้กจะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน และมีการโต้ตอบกับคนแปลกหน้าได้
กลุ่ม 5 เด็ก 4-6 ปี
ช่วงที่มีการพัฒนา เริ่มมีการรับรู้ และสังเกต ชอบถาม จะเข้าใจคำถามและคำตอบที่ง่ายๆ สามารถใช้ภาษาสื่อสารได้ดี แต่ไม่ค่อยกล้าแสดงออก
กลุ่ม 6 ทฤษฏี จิตวิทยาการเรียนรู้
การเรียนรู้คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอันเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์และต้องอาศัยวุฒิภาวะ
ประสบการณ์ตรง คือ การพบเจอและสัมผัสด้วยตนเอง
ประสบการณ์ทางอ้อม คือ ได้มาจากการรับรู้จากบุคคลอื่น
เด็กจะเรียนรู้จากสิ่งรอบข้างและพูดตามสิ่งที่เข้าใจ
กลุ่ม 7 วิธีการเรียนรู้ของเด้กปฐมวัย
การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา จะมาจากการสัมผัส การช่วยเหลือตนเอง การได้จับสิ่งของ
กลุ่ม 8 -
กลุ่ม 9 องค์ประกอบภาษาด้านภาษา
องค์ประกอบภาษาคือ เสียงกับการอ่าน
เสียง คือ สิ่งที่คนเราเปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายในสิ่งที่ต้องการ ในวัยปฐมวัยจะแสดงออกด้วยการออกเสียง อ๊อแอ๊ เพื่อให้รู้ว่าเขามีความต้องการ
การอ่าน คือ การรับรู้ข้อความ อ่านเพื่อเข้าใจและรับรู้ความหมายจากเครื่องหมายหรือสัญลัษณ์ต่างๆและอย่าไปบังคับให้เด้กอ่าน
ไวยากาณ์ คือ การประสมคำให้เป็นประโยค
ความหมาย คือ เด็กจะพูดและเข้าใจในความหมายของตน และยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางในความหมายนั้นๆ จะตีความหมายของคำได้
กลุ่ม 10 หลักการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
เด้กจะเน้นเรื่องทักษะและไวยากรณ์ คิดให้เป็นธรรมชาติ แสดงออกและสอนเป็นธรรมชาติ อย่าพึ่งไปเน้นกับเด้ก การจะพาเด็กเรียนต้องทำให้เขารู้จักจัวของเขาก่อน อย่าไปคาดหวังเด้กให้มีพัฒนาการเหมือนกันทังห้อง เพราะเด็ดทุกคนมีความแตกต่างกัน การใช้คำถามกับเด้กเป็นการบ้านให้เด็กได้กลับไปถามพ่อแม่ จะได้เรื่องการสื่อสาร
รูปแบบการสอนคือ การอ่าน
1. อ่านอิสระ อ่านตามลำพัง
2.อ่านร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อให้เด็กเข้าใจในสิ่งที่อ่าน
อย่าไปคาดหวังการเขียนของอนุบาลเหมือนวัยประถมฃ
การนำไปใช้ประโยชน์
1. นำความรู้ที่ได้ ไปพัฒนาด้านการเรียนรู้ของตนเอง
2. นำสิ่งที่ได้เรียน ที่ได้ความรู้ ไปใช้กับเด็กในช่วงวัยปฐมวัย
3. เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็กเพิ่มมากขึ้น
4. เอาความรู้ที่ได้ ไปใช้กับการเรียนรู้ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น